วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2551

บทที่ 6

1.วิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหาต่อไปนี้
1.1การหาพื้นที่สามเหลี่มใดๆ
ตอบ 1.การระบุข้อมูลเข้า คือ พื้นที่รูปสามเหลี่ยมใดๆ1/2คูณ สูง คูณ ฐาน2.การระบุข้อมูลออก คือการหาพื้นที่รูปสามเหลี่ยมใดๆ

3.การกำหนดวิธีการประมวลผล คือโจทย์ต้องการหา "พื้นที่รูปสามเหลี่ยมใดๆ"
1.2การคำนวณหาจำนวนเงินในบัญชีเงินฝากแบบประจำที่มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ8ต่อปี เมื่อนายสมชายฝากเงินครบ5ปีด้วยเงินต้นครั้งแรกจำนวน1000บาท
ตอบ1.การระบุข้อมูลเข้า คือโจทย์กำหนดให้หาจำนวนเงินในบัญชิฃีเงินฝากแบบประจำมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ8ต่อปีเมื่อฝากครบ5ปีด้วยเงินต้นครั้งแรกจำนวน1000บาท

2.การระบุข้อมูลออก คือ จำนวนเงินในบัญชีเงินฝาก
3.การกำหนดวิธีการประมวลผล คือ3.1 จำนวนเงินต้นครั้งแรก 1000บาท
3.2มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ8ต่อปี คิดโดยนำเอา8 หาร 100 คูณ 1000มีค่าเท่ากับ80
3.3ในเวลา 5 ปี มีดอกเบี่ย เท่ากับ 80 คูณ 5 เท่ากับ 400บาท
3.4 นำผลลัพธ์ ที่ได้ 400บาทมารวมกับจำนวนเงินต้นจะมีเงินในบัญชีทั้งสิ้น1400บาท

1.3 การคำนวณเกรดเทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่นักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 4 จำนวน 30 คนดโยกำหนดให้คะแนนเติมในการเก็บคะแนนและการสอบทั้งหมดของวิชานี้คือ 100 คะแนนกฎเกณฑ์ในการให้เกรดคือ

-นักเรียนที่ได้คะแนนตั้งแต่ 80 คะแนนขึ้นไป ได้เกรด 4
-นักเรียนที่ไดคะแนน 70-79 ได้เกรด 3
-นักเรียนที่ได้คะแนน 60-69 ได้เกรด 2
-นักเรียนที่ได้คำแนน50-59 ได้เกรด1
-นักเรียนที่ได้คะแนนตำกว่า50 ได้เกรด 0
ตอบ1การระบุข้อมูลเข้า คือ โจทย์กำหนดการคำนวณวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน30 คน คะแนนเต็มคือ 100 คะแนน

-นักเรียนที่ได้คะแนนตั้งแต่ 80 คะแนนขึ้นไป ได้เกรด 4
-นักเรียนที่ไดคะแนน 70-79 ได้เกรด 3
-นักเรียนที่ได้คะแนน 60-69 ได้เกรด 2
-นักเรียนที่ได้คำแนน50-59 ได้เกรด1
-นักเรียนที่ได้คะแนนตำกว่า50 ได้เกรด 0
2 การระบุข้อมูลออก คือจากโจทย์สิ่งที่เป็นคำตอบของปัญหาคือเกรดเทคโนโลยีสารสนเทศ

3การกำหนดวิธีการคำนวณผล คือคะแนนเต็มในการเก็บคะแนนและการสอบวิชานี้คือ100คะแนน กฎเกรฑ์ในการให้เกรดคือนักเรียนที่ได้คะแนนตั้งแต่
-นักเรียนที่ได้คะแนนตั้งแต่ 80 คะแนนขึ้นไป ได้เกรด 4
-นักเรียนที่ไดคะแนน 70-79 ได้เกรด 3
-นักเรียนที่ได้คะแนน 60-69 ได้เกรด 2
-นักเรียนที่ได้คำแนน50-59 ได้เกรด1
-นักเรียนที่ได้คะแนนตำกว่า50 ได้เกรด 0

วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ซอฟต์แวร์

ซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์หมายถึง ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเหมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น
1. ซอฟต์แวร์สำหรับระบบ (System Software)
คือ ชุดของคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูป ซึ่งจะทำงานใกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพื่อคอยควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่าง และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการใช้งาน ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ DOS, Windows, Unix, Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic, Fortran, Pascal, Cobol, C เป็นต้น นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น Norton’s Utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่มำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน คือ โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ บางที่เรียกว่า User’s Program เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมระบบเช่าซื้อ โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง เป็นต้น ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มักจะมีเงื่อนไข หรือแบบฟอร์มแตกต่างกันออกไปตามความต้องการ หรือกฏเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ ซึ่งสามารถดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม (Modifications) ในบางส่วนของโปรแกรมได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่เขียนขึ้นนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงเป็นตัวพัฒนา
2.3 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆ ทั่วไป โดยผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้ แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเอง ซึ่งเป็นการประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรม นอกจากนี้ ยังไม่ต้องเวลามากในการฝึกและปฏิบัติ ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปนี้ มักจะมีการใช้งานในหน่วยงานมราขาดบุคลากรที่มีความชำนาญเป็นพิเศษในการเขียนโปรแกรม ดังนั้น การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจึงเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ตัวอย่างโปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้ได้แก่ MS-Office, Lotus, Adobe Photoshop, SPSS, Internet Explorer และ เกมส์ต่างๆ เป็นต้น

อธิบายประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์ประมวลคำนอกเหนือจากที่กล่าวในบทเรียนมา

2.อธิบายประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์ประมวลคำนอกเหนือจากที่กล่าวในบทเรียนมา 3 ข้อ
ตอบ.เป็นซอฟต์แวร์ในการนำตัวอักษรมาเรียงต่อเป็นคำ และเป็นการเตรียมเอกสารที่มองเห็นงานพิมพ์ไปปรากฏที่จอภาพ
1.สามารถควบคุมการแสดงของตัวอักษรได้
2.ช่วยจัดการแก้ไขดัดแปลงข้อความเป็นกลุ่มได้3.จะสร้างข้อมลูในตารางได้ง่ายและสะดวก
3.ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่อะไร

ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก

ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ
คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่ง และจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้รันซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆตัวพร้อมๆกัน

จงอธิบายลักษณะของซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะทาง

จงอธิบายลักษณะของซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะทาง
ตอบ. เป็นโปรแกรมที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาสำหรับนำไปใช้งานเฉพาะด้าน หรือในสาขาใดสาขาหนึ่งตามความต้องการของผู้ใช้ โดยที่ผู้เขียนคือโปรแกรมเมอร์ (programmer) ที่มีความสามารถในการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ และต้องศึกษาทำความเข้าใจเข้าใจงานและรายละเอียดของการประยุกต์นั้นเป็นอย่างดี เช่น โปรแกรมช่วยจัดการด้านการเงิน โปรแกรมช่วยจัดการบริการลูกค้า ฯลฯ ตามปกติจะไม่ค่อยได้พบเห็นซอฟต์แวร์ประเภทนี้ในท้องตลาดทั่วไป แต่จะซื้อหาได้จากผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายในราคาค่อนข้างสูงกว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้งานทั่วไป โครงสร้างของซอฟต์แวร์เฉพาะทางมักจะประกอบด้วย ฐานข้อมูลเพื่อใช้เก็บข้อมูลลูกค้า และระบบหลักของงาน ภายในซอฟต์แวร์ควรจะมีส่วนทำงานประมวลคำเพื่อใช้สร้างรายงาน ติดต่อโต้ตอบจดหมาย และการนัดหมายตามกำหนดการ ลักษณะของซอฟต์แวร์เฉพาะทางนี้ มีทั้งรูปแบบที่มีผู้ใช้งานคนเดียว หรือผู้ใช้งานได้พร้อมกันหลายคน ในประเทศไทยมีการใช้ซอฟต์แวร์ประเภทใช้เฉพาะทางอยู่บ้าง ส่วนใหญ่จะเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตต่างประเทศได้ออกแบบมาเพื่อรองรับงานด้านธุรกิจ ในที่นี้ได้รวบรวมจัดประเภทไว้ดังนี้

อธิบายประสิทธซอฟต์แวร์ตารางการทำงานนอกเหนือจากที่กล่าวในบทเรียนมา 3 ข้อ

5.อธิบายประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์ตารางการทำงานนอกเหนือจากที่กล่าวในบทเรียนมา 3 ข้อ
ตอบ.ซอฟต์แวร์สำเร็จตารางทำงาน หรือกระดาษอิเล็กทรอนิกส์ เป็นเครื่องมือช่วยเพื่อการวิเคราะห์และคำนวณตัวเลขให้กับผู้ใช้ได้อย่างดี เพราะการใช้งานซอฟต์แวร์นี้ จะเปรียบเหมือนกับการนั่งทำงานอยู่บนโต๊ะทำงาน ที่มีกระดาษแผ่นใหญ่ๆ ประกอบด้วยตารางสี่เหลี่ยมของช่องตามแนวแถวและสดมภ์จำนวนมากมายปรากฏบนจอภาพ โดยแต่ละช่องบนตารางทำงาน ภายในซอฟต์แวร์ตารางทำงานจะมีฟังก์ชันต่างๆ จัดมาให้เลือกใช้เรียบร้อยแล้ว เช่น ฟังก์ชันการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ฟังก์ชันการคำนวณทางสถิติ ฯลฯ ซึ่งฟังก์ชันเหล่านี้เปรียบได้กับเครื่องคิดเลขที่วางบนโต๊ะทำงาน ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลจากช่องต่างๆ บนตารางเป็นตัวแปรของฟังก์ชันหรือสูตรคำนวณ เพื่อคำนวณให้ได้ผลลัพธ์ออกมา และนำไปใช้ในการคำนวณของช่องอื่นๆ ต่อไปได้อีก
1.ฟังก์ชันการคำนวณทางคณิตศาสตร์
2.ฟังก์ชันการคำนวณทางสถิติ
3.ฟังก์ชันหรือสูตรคณิต

ประโยชน์ของระบบจัดการฐานข้อมูล

ประโยชน์ของระบบจัดการฐานข้อมูล

• มีความเป็นอิสระของข้อมูล (data independence)

• มีความปลอดภัยของข้อมูล (data security)

• มีการกำหนดสิทธิในการใช้ข้อมูล (data authority)

• มีระบบการฟื้นสภาพข้อมูลอัตโนมัติเมื่อระบบเกิดความเสียหาย (recovery control)

• มีการดูแลผู้ใช้หลายคนให้สามารถทำงานพร้อมกันได้ (Concurrencey control)

มีการใช้ข้อมูลร่วมกัน (data sharing)

• มีการควบคุมความถูกต้องของข้อมูล (data integrity)
2.4 โครงสร้างการทำงานของระบบจัดการฐานข้อมูล - ระดับที่ 1 ระดับภายใน (Internal Level) จะแสดงรายละเอียดของการจัดเก็บในตัวกลางและวิธีการเรียกใช้ ฐานข้อมูล - ระดับที่ 2 ระดับแนวคิด (Conceptual Level) แสดงโครงสร้างรวมของฐานข้อมูลให้กับผู้ใช้ทุกประเภท โดยโครงสร้างแนวคิดจะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูล (Metadata) เท่านั้น เช่น ตัวข้อมูล ชนิดของข้อมูล และข้อกำหนดข้อมูล - ระดับที่ 3 ระดับภายนอก (External Level) ประกอบด้วยโครงสร้างภายนอก หรือมโนภาพของผู้ใช้ (user views) หลายๆตัว ด้วยกัน แต่ละตัวจะใช้แสดงมโนภาพของผู้ใช้เฉพาะกลุ่มเท่านั้น
2.5 ส่วนประกอบของระบบจัดการฐานข้อมูล

1) ส่วนจัดการฐานข้อมูล (Database manager) ประสานระหว่างข้อมูลที่จัดเก็บในฐานข้อมูล โปรแกรมประยุกต์ และส่วนคำร้องขอ โดยกำหนดการกระทำต่างๆ ผ่านส่วนจัดการแฟ้มข้อมูล (File manager) เพื่อไปกระทำและจัดการกับข้อมูลที่เก็บอยู่ในฐานข้อมูลระดับ กายภาพ

2) ส่วนประมวลผลสอบถาม (Query processor) แปลงประโยคคำสั่งภาษาสอบถามให้อยู่ในรูปแบบของคำสั่งที่ส่วนจัดการฐานข้อมูลเข้าใจ

3) ส่วนแปลงภาษาจัดการข้อมูล (data manipulation language precompiler) : แปลงประโยคคำสั่งภาษา DML ให้อยู่ในรูปแบบที่ส่วนรหัสออบเจกต์ของโปรแกรมประยุกต์สามารถเข้าใจได้ เพื่อส่งต่อรหัสคำสั่งนั้นไปยังส่วนจัดการฐานข้อมูล

4) ส่วนแปลภาษานิยามข้อมูล (data definition language precompiler) : แปลงประโยคคำสั่งภาษา DLL ให้อยู่ในรูปแบบของ metadat ซึ่งเก็บรายละเอียดของโครงสร้างต่างๆ ของข้อมูล โดยเก็บไว้ใน data dictionary

5) ส่วนรหัสอบบเจกต์ของโปรแกรมประยุกต์ (application program object code) : ทำหน้าที่แปลงคำสั่งต่างๆ ของโปรแกรมประยุกต์ และแปลงคำสั่งภาษา DML ที่ส่งต่อมาจากส่วนแปลภาษาจัดการข้อมูลให้ อยู่่ในรูป object code ซึ่งจะส่งต่อให้ส่วนจัดการฐานข้อมูลเพื่อจัดการกับข้อมูลในฐานข้อมูลต่อไป * data files : ข้อมูลต่างๆที่เก็บในฐานข้อมูล มีการกำหนดดัชนี(index) เพื่อช่วยในการเข้าถึงค่าข้อมูลต่้างๆ ได้เร็วขึ้น* data dictionary : ใช้เก็บ meta data เช่น โครงสร้างของข้อมูล, โครงสร้างของตาราง, โครงสร้างดัชนี, กฏที่ใช้ควบคุมความถูกต้องของข้อมูล เป็นต้น